
ก่อนหน้านี้เคยเขียนถึงความเป็นมาตรฐานของการทำเว็บไซต์ (W3C) มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่จากการได้ลองทำให้เป็นมาตรฐาน (ก่อนหน้านี้ ทำตามความรู้ที่เคยทำมาไม่สนใจมาตรฐานเลย) มันทำให้เห็นถึงข้อจำกัดบางอย่างที่ความเป็นมาตรฐานไม่สามารถแสดงผลได้ อันนี้คงต้องทำใจ เช่น ขนาดตัวอักษร สี (ในบางส่วน) เมื่อเรากำหนดรูปแบบเอกสารของเว็บไซต์ การแสดงผลจะแตกต่างจากเดิมทันที ทั้งที่คำสั่งต่างๆ ยังอยู่เหมือนเดิม
มันก็เลยกลายเป็นว่าเราต้องเอารูปแบบเอกสารออกไป เพื่อให้การแสดงผลได้ตามที่เราต้องการ มันก็คงต้องดูเป็นเฉพาะกรณีกันไปว่าเว็บไซต์ที่ทำนั้น กลุ่มเป้าหมายจริงๆ ที่เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ ต้องการความเป็นมาตรฐานหรือไม่
จากคำว่ามาตรฐาน มาพูดถึงคำว่าสไตล์กันบ้างดีกว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลเว็บไซต์อยู่อันหนึ่ง ก่อนหน้านี้เค้าให้บริษัทหนึ่งเป็นผู้บริหารและดูแลในการนำเสนอ ตอนนี้เค้าหมดสัญญากัน เราเลยได้รับดูแลต่อ แต่เนื่องจากสไตล์การทำงาน (การเขียนข้อมูล การเชื่อมโยง การสร้างทางลัด ฯลฯ) ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเหมือนกัน ทำให้ต้องศึกษารูปแบบการทำงานของเค้าพอสมควร ... คงต้องใช้เวลาสักพักในการแกะ อิ อิ
...
ช่วงนี้ดูทีวีแล้วรู้สึกหงุดหงิด ไม่รู้มันเอารายการอะไรมาให้ดูบ้าง ไม่ค่อยสนุกเลย (ไม่นับพวกรายการที่จะขายความสนุกโดยเฉพาะ อันนี้ไม่นับ) ดูไปดูมาความรู้มันน้อยลงทุกวัน (ไม่นับพวกรายการสาระคดีนะ เพราะมันต้องให้ความรู้อยู่แล้ว) มีแต่ข่าวสาร สาระ ที่ไม่ค่อยประเทืองปัญญา สักเท่าไหร่
ล่าสุดไปอ่านเว็บของคุณ Isriya เลยเอามาฉายซ้ำให้ดูอีกทีละกัน
ยุคสิ้นปี 2005 ที่สื่อกลายเป็นพวกนายก, ไทยรัฐมีแต่ข่าวถูกหวย, ผู้จัดการเสียสติ, สรยุทธหันไปเล่นแต่ข่าวชาวบ้านกับลิเวอร์พูล, adayweekly ทะเลาะกันเองปิดตัว, pantip มีแต่ troll etc. เราไม่มีทางเลือกในการเสพสื่อเลยหรือ?
แล้วคุณที่หลงเข้ามาอ่านบล๊อกนี้ รู้สึกยังไงกันบ้าง ?
