ช่วงนี้กำลังทำโครงการ BLOGservice ขึ้นมาเล่นๆ บวกกับได้รับการอนุเคราะห์ให้ลองใช้ host ฟรี ตอนนี้เลยวุ่นๆ กะโครงการพิเศษนิดหน่อย และเร็วๆ นี้จะมีเปิดตัวเว็บที่ไปรับทำกะเค้าอีก 2 เว็บ ความคืบหน้าจะมาโพสในหน้า about อีกรอบนึง
เมื่อวันจันทร์ไปติดต่อธุระที่กระทรวงสาธารณสุข ตอน 10.00-12.00 ขากลับไปทำงาน ฝนตกปรอยๆ แต่พอมาได้กลางทางฝนกลับตกหนักขึ้น จนทำให้ต้องเบี่ยงเบนเป้าหมายกลับมาตั้งหลักที่บ้านก่อน - เนื่องจากว่าทุกอนุในร่างกายเปียกชุ่มไปด้วยน้ำ - กว่าจะออกไปทำงานอีกรอบก็ปาเข้าไป 5 โมง ไหนใครนะบอกว่า อากาศช่วงนี้มีฝนแค่ประมาณ 20-30% ไงล่ะ -_-!!
...
ได้อ่านเจอบทความน่าสนใจเกี่ยวกับคนที่สนใจทำเว็บไซต์โดยเฉพาะ ยิ่งผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้ใช้ IE เป็นหลักในการชมเว็บซะด้วยยิ่งน่าสนใจยิ่งขึ้น จากเว็บของ
isriya.com มี link ของเอกสาร
สไลด์การพัฒนาเว็บให้อ่านได้ทุกเบราเซอร์ (pdf) นี้อยู่ เนื้อหาบางส่วนมีดังนี้
ข้อแนะนำในการเขียนเว็บให้อ่านได้ทุกเบราว์เซอร์
- อย่าเช็คว่าเป็นเบราว์เซอร์อะไร แล้วปฏิเสธถ้าไม่ใช่เวอร์ชั่นที่ตั้งใจ
- ใส่ เสมอ
- ใช้ TIS-620 หรือ UTF-8 ก็ได้ เป็น charset ที่จดทะเบียนกับ IANA
- ISO-8859-11 ก็ได้ แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน IANA
- ไม่ควรใช้ Windows-874 เพราะไม่ได้จดทะเบียนกับ IANA แต่เบราว์เซอร์ทั่วไปน่าจะรู้จัก
- อย่าใช้ VBScript หรือ ActiveX ให้ใช้ JavaScript และ Java ซึ่งใช้ได้ทุกเบราว์เซอร์
- เวลาเขียน เช็คว่า HTML tag, CSS property และ JavaScript ที่ใช้ทำงานได้ถูกต้องในเบราว์เซอร์ใดบ้าง อาจตรวจสอบได้ที่ HTML/CSS reference ที่ www.w3schools.com
- อย่าใช้ pop-up เพราะจะถูก block โดย pop-up blocker ซึ่ง built-in ใน Firefox และ Opera และ IE ก็ลงเพิ่มเติมได้
- อาจใช้ CSS Hack เพื่อให้เขียนบาง rule ที่ทำงานเฉพาะเบราว์เซอร์
- ทดสอบกับเบราว์เซอร์หลายๆ ตัว อย่างน้อย IE กับ Firefox หรือรวมถึง Opera และ Konquerer/Safari
- บางครั้งอาจเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เป็นเหมือนกันทุกเบราว์เซอร์ แต่ควรทำให้ใช้งานและอ่านได้ทุกเบราว์เซอร์
- การเขียนเว็บให้ดูได้ cross-browser ทำให้ยุ่งยากขึ้น แต่คุ้มเพราะเป็นการเพิ่มผู้เข้าชม ไม่ว่าจากผู้ใช้ Firefox, Linux หรือ MacOSX
- หน่วยงานที่ต้องเขียนให้ cross-browser คือหน่วยงานสาธารณะ มิฉะนั้น จะเป็นการกีดกันการเข้าถึงข้อมูลสาธารณะ
ActiveX
เนื่องจากการทำงานด้านหลังของ IE และ Firefox แตกต่างกันในบางส่วนคือ Firefox จะไม่มีคำสั่ง ActiveX ในการควบคุม JavaScript ที่ทีมงานใช้ในการเขียนโปรแกรมในส่วนนี้ ซึ่งตัวนี้เองเป็นตัวที่ทำให้ Firefox ทำงานได้เร็วกว่า IE เพราะเวลาเปิดหน้าหนึ่งๆ ขึ้นมา IE จะทำการ scan หน้านั้นๆ ก่อนแล้วค่อยแสดงผล แต่ Firefox จะแสดงผลเลยไม่มีการ scan กว่าว่าหน้านั้นๆ มีการเรียก Function ActiveX ด้วยหรือไม่ ซึ่งตรงนี้เป็นข้อจำกัดของ Firefox เอง
หากทำให้สนับสนุน Firefox IE ก็ไม่สามารถใช้ Function บางส่วนที่มีประสิทธิภาพมากกว่า Firefox
|
...
วันเสาร์ที่ผ่านมาได้ไปร่วมลงชื่อถอดถอนกะเค้ามาด้วย บรรยากาศหลังฝนตกปรอยๆ มีคนพลุกพล่านพอสมควร ณ ตอนที่ไปรวมลงชื่อน้องๆ ที่เค้ารับลงทะเบียนบอกว่า ได้รายชื่อแล้วประมาณกว่า 25,000 - เร็วเหมือนกันนะ - สำหรับคนที่ยังไม่ได้ร่วมกิจกรรมนี้ ก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
blog นี้ หรือเว็บ
tuthaprajan.org




...
เหมือนจำได้ว่า เคยบอกกับคนรู้จักว่าจะแนะนำการเขียน script php เบื้องต้น แต่ยังไม่ได้ทำเลย ติดเอาไว้ก่อนนะครับ อย่าเพิ่งน้อยใจนะครับ เดี๋ยวจัดการให้(ถ้าว่าง) :p