ช่วงนี้สังเกตุจากข่าวมีการเขียนคำว่า ปากมูน ที่สะกดด้วย น.หนู กับ ปากมูล ที่สะกดด้วย ล.ลิง สองคำนี้แม้สะกดไม่เหมือนกันแต่หมายถึงพื้นที่บริเวณเดียวกัน แล้วอย่างไหนมันถูกต้องละเนี่ย ?
งานนี้ต้องถามพี่ชูวัส(เจ้าเดิม) ว่าทำไมถึงมีการใช้งานคำนี้ทั้งสองแบบ...
ป - พี่ๆ ทำไมคำว่าปากมูล ถึงสะกดทั้ง น และ ล
ช - ที่จริงจุดเริ่มมันมาจากความหมายของคำว่ามูน มันคือชื่อพืช หรือพันธุ์อะไรสักอย่าง หรือความหมายอะไรสักอย่างเป็นภาษาท้องถิ่น แล้วเมื่อทางราชการเอาไปใช้ มันใช้คำว่า มูล
ช - นัยแบบนี้ชาวบ้านเลยเอามาเขียนและใช้กันใหม่อย่างมีนัยว่า การเรียกคือภูมิปัญญาท้องถิ่น
ช - ถ้าใช้อย่างเคร่งครัดแล้ว กรณีเป็นการพูดของชาวบ้าน เราจะใช้ น ถ้าเป็นของรัฐ ใช้ ล เช่นแม่น้ำมูน เขื่อนปากมูล
ช - แม่น้ำมูน ของชาวบ้าน, เขื่อนปากมูล ของรัฐ
ป - แล้วการสะกดด้วย ล ของรัฐ มีนัยยะ อะไรมั้ยพี่ หรือว่า เขียนผิดตั้งแต่แรก เลยปล่อยเลยตามเลย
ช - มันเขียนมาแบบ ราชการในกรุงเทพ สะกดตามเสียงพูดไง โดยไม่เคยถามว่าปู่ย่าตายายในท้องถิ่นเขาหมายถึงอะไร
ป - อ๋อ... ราชการเป็นคนกำหนดการเขียน แบบภาษาราชการ เป็น ล
ช - ชาวบ้านเขาพูด เขาไม่ได้เขียน
ช - ก็ประมาณนั้น
แม่น้ำมูน ของชาวบ้าน !
เขื่อนปากมูล ของรัฐ !
สรุปว่าเป็นการเรียกของ ชาวบ้าน และ ราชการ เรื่องอย่างนี้มีเยอะในประเทศไทย เฮ้อ...ราชการไทย !
--- update ---
หลังจากที่ได้คำตอบเบื้องต้นว่าคำว่า "ปากมูน" นั้นชาวบ้านสะกดด้วย น.หนู เลย ค้นหากูเกิ้ล ได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย (หายากจริงๆ ข้อมูลแบบนี้)
มูน ในความหมายของชาวอีสาน หมายถึง สิ่งที่มีค่าน่าหวงแหน เป็นมรดกของบรรพบุรุษที่สั่งสมไว้เพื่อลูกหลานและเป็นสิ่งที่ลูกหลานต้องรักษาต่อเอาไว้ให้ดี เพราะกว่าจะได้มาซึ่งมูนนั้น พ่อแม่ บรรพบุรุษต้องอุตส่าห์เพียรพยายามถากกาง หลังจากถากถางแล้วก็ต้องดูแลทะนุถนอมอย่างดีไม่ให้ใครมาทำลาย เพราะมูนเหล่านี้ต้องตกไปเป็นของลูกหลานรุ่นต่อไป เพื่อให้ได้เฮ็ดอยู่เฮ็ดกินในวันข้างหน้า (เกริ่นนำลำมูน: ecovillager.org)