
งานเสวนา YouFest: YouMedia2 - Citizen Journalism ว่าด้วยสื่อพลเมือง - วันที่ 25 พฤศจิกายน 2550 จัดขึ้นที่บริษัทไอเนต (INET) ถนนเพชรบุรี
งานนี้มุ่งเน้นประเด็นภาพรวมไปที่ "สื่อพลเมือง" Citizen Journalism สรุปตามหัวข้อดังนี้
อ.ธวัชชัย - บรรยายสดจากหาดใหญ่ (gotoknow.org) - พื้นที่ของสื่อพลเมือง
- ความหวังของสังคมไทยกับสื่อพลเมือง
- พลเมือง = สื่อพลเมือง
- สังคมที่มีความมั่งคง = ข้อมูลสามารถไหวเวียนได้อย่างอิสระ
- การอยู่รอดของสื่อพลเมือง / ให้คุณค่า (มีประโยชน์)
- ข้อความระวัง - สื่อมวลชน หลอกใช้ สื่อพลเมือง
- อุปสรรค - ถูกคุกคามได้ง่าย / ต้องมีพื้นที่/มีรากฐานที่มั่นคง
- ความหวัง - ต้องก้าวข้ามอุปสรรคไปให้ได้
สฤณี (fringer.org) - สิทธิของสื่อพลเมือง
- พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของไทย / ไม่คุ้มครองสิทธิ แต่ก็ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง (แฮกเกอร์ไม่ได้สักที)
- บล็อกเกอร์ = สื่อ / ควรมีสิทธิเท่ากัน จรรยาบรรณแบบเดียวกัน
- สิทธิในการวิพากวิจารณ์ - การใช้ความความโดยชอบธรรม / fair use, fair comment
- สิทธิการวิพากวิจารณ์ทางการเมือง - ้ควรรู้จุดยืนของผู้วิจารณ์
- การใช้งานแบบนิรนาม (anonymous)
- สื่อพลเมือง ต้องมีสิทธินำบทความ/ข้อความผู้อื่นมาเผยแพร่
- ปัญหา (ในประเทศไทย) - ความชัดเชนเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ / ประเด็นความเสียหาย รัฐตีความกว้างเกินไป, ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เป็นผู้ฟ้องร้อง, การตัดต่อมีโทษ ทำให้การ์ตูนการเมืองต่อไปทำได้ยาก
อ.อุบลรัตน์ (จุฬาฯ) - ก.ม.หมิ่น เครื่องมือจำกัดเสรีภาพ
- การนิยาม สื่อพลเมือง = ปริมณฑลเล็กมาก / ด้วยเพราะโครงสร้างพื้นฐาน, การเข้าถึง
- ต้องขยายให้ สื่อพลเมือง เท่ากับ พลเมือง
- สิทธิของสื่อพลเมือง = สิทธิพลเมือง
- แนวคิดของก.ม.อาญา = การทำผิดต่อรัฐ
- แนวคิดของรัฐ ในการควบคุมสื่อ / ประมาณ 80 ปีที่แล้ว เมื่อมีหนังสือพิมพ์ รัฐก็ออก ก.ม.ควบคุม / ปัจจุบันมีอินเตอร์เนต รัฐก็ออก ก.ม. ควบคุมอีก / ใช้แนวคิดชุดเดิม / รัฐมองว่าทุกอย่างต้องควบคุม
- ประเด็นนิรนาม / เกิดมานานแล้ว นามปากกาในหนังสือพิมพ์
- ก.ม.อาญา ได้รวมฐานความผิดเกี่ยวกับการพูดและการแสดงความคิดเห็นเข้าไปด้วย / ต้องยกเลิก ข้อความที่เกี่ยวข้อง
- เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่อาชญากรรม
- สิทธิในการวิจารณ์ / การพูดความจริง
- อินเตอร์เนต = พื้นที่ของความเชื่อ + ข้อเท็จจริง
- ความเชื่อ ไม่ผิด ก.ม. / เช่น ความเชื่อเรื่องศาสนา
- ความเชื่อ = สิทธิขั้นพื้นฐาน
- ปัจจุบัน ก.ม.อื่นๆ ที่อำนาจเหนือ รธน. / รธน. รองรับการแสดงความคิดเห็น, ก.ม.อื่นๆ จำกัดเสรีภาพ
- มีเสรีภาพตามที่ ก.ม.กำหนด
- โดยสากล / รัฐต้องไม่ออก ก.ม.จำกัดเสรีภาพ
- Bill of Rights ของไทยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในประกาศคณะราษฎร พ.ศ. 2475 / หลัก 6 ประการ / หลังจากนั้นไม่ถูกนำมาเป็นสาระสำคัญอีกเลย
- หลักคิดของรัฐไทย / เมื่อมีสื่อใหม่เกิดขึ้น ก็จะออก ก.ม.ชุดใหม่ มาควบคุม
สุนิตย์ (thairuralnet.org) - รูปแบบการทำธุรกิจของสื่อพลเมือง
- ความจำเป็นทางการเงิน
- การอยู่ได้ของสือพลเมือง / free media
- รูปแบบของธุรกิจ / เนื้อหา+วิธีนำเสนอ / รับจ้างทำงานอื่นเพื่อนำเงินมาทำสิ่งที่สนใจ
- การจัดการ / รูปแบบกอง บ.ก. ควบคุมง่าย, ค่าใช้จ่ายสูง, ขยายได้ยาก / รูปแบบอาสาสมัคร ควบคุมได้ยาก, ค่าใช้จ่ายน้อย, ขยายได้ง่าย
- เมื่อดำเนินการมาถึงจุดหนึ่ง ควรสามารถหารายได้เลี้ยงองค์กรด้วยตัวเอง
- (ดูสไลด์เพิ่ม / จดไม่ทัน - -")
James Gomez (jamesgomeznews.com) - แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การต่อสู้ในไซเบอร์สเปซ
- แนวคิดของสื่อพลเมือง มาจาก ปัญหาการปิดกั้น, การเข้าถึงอินเตอร์เนตได้ง่ายขึ้น
- ประเทศไทย สื่อพลเมืองเพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน หลังจากระบบทักษิณ, สื่อถูกแทรกแซง
- ในบางประเทศ / ผู้สื่อข่าว = สื่อพลเมือง
- ในประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย / ผู้สื่อข่าว แยกออกจาก สื่อพลเมือง
- บางครั้งเมื่อมีเงิน,รูปแบบกิจการ / ทำให้สื่อพลเมือง เสียจุดยืน
- วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากสื่อผลเมือง - มีน้องมากในทางปฏิบัติ / ยกตัวอย่าง ในสิงคโปร์ แนะนำหนังสือ ผ่านสื่อพลเมือง มีผลตอบรับเพียง 20 ราย
- การที่จะสร้างผลกระทบในวงกว้าง สื่อพลเมือง ต้องรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่ต่างคนต่างทำ
- การอยู่ได้อย่างยั่งยืน - ต้องสามารถหารายได้เอง โดยไม่ต้องรับเงินทุนในการดำเนินงาน
Keiko Sei (About Keiko) - การเข้าถึงข้อมูล/ข่าวสาร
- (เคโก๊ะ ให้ดูตัวอย่าง วิดีโอ,ภาพ ต่างๆ เช่น วิดีโอ มอนิเตอร์บันทึกการทิ้งระเบิดของเครื่องบินรบ, ภาพพื้นผิวโลกจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียม, วิดีโอ การดักสัญญาณภาพของสถานีโทรทัศน์ในอเมริกา)
- ศิลปินทุกคน นำเสนอสิทธิที่ปกติแล้ว คนทั่วไปหาดูไม่ได้ หรือมีการเซนเซอร์ก่อนถึงผู้ชม
- (ดูสไลด์เพิ่ม - ถ้ามี)
ประเด็นอื่นๆ
- การรวบข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์/บล็อกต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ในรูปแบบคล้าย technorati
- ข้อควรระวังในการเป็นสื่อพลเมือง / ระวังการระบุชื่อโดยไม่จำเป็น / กรณีวิจารณ์บุคคลสาธารณะ ในประเด็นการทำงาน ต้องมีประโยชน์ต่อสาธารณชน
แนวทางของสื่อพลเมือง
- ต้องสร้างงานต้นฉบับ
- สร้างสรรคจากผลงานอื่น และอ้างอิงเสมอ
- มีมารยาท
- มีประโยชน์
- มีแนวทางการทำงาน
- มีแนวทางการแก้ปัญหา
โครงสร้างของสื่อพลเมือง 3+1
- การเข้าถึง (internet access/ infrastructure)
- โครงสร้างพื้นฐาน (web application/ social network)
- การรวมตัว (meeting/ seminar)
- การจัดระบบ (organize)
ดูสรุปแบบเต็มๆได้ที่ youfest.in.th/YouFest2/Live
