1. การเข้าถึงการมองเห็น (Visual Accessibility)
การทำเว็บไซต์ให้สามารถเข้าถึงโดยบุคคลที่ตาบอด หรือบกพร่องทางการมองเห็น ทั้งนี้รวมไปถึงบุคคลที่มีภาวะทางระบบประสาท เช่น โรคลมบ้าหมู ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการมองเห็นบางอย่าง (ภาพที่กระพริบเร็วเกินไป) แนวทางในการจัดทำเว็บไซต์ จะต้องมีตัวอักษรขนาดใหญ่ และการเลือกสีที่มองเห็นได้ง่าย รวมถึงการใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอที่ช่วยอธิบายองค์ประกอบต่างๆ ภายในเว็บไซต์ และอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ
2. การเข้าถึงการได้ยิน (Auditory Accessibility)
การทำเว็บไซต์ให้สามารถเข้าถึงโดยบุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน รูปภาพมีความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเล่นวิดีโอ หรือเสียงในเว็บไซต์ จะต้องมีคำบรรยายหรือข้อความอธิบาย เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยิน เข้าใจว่ากำลังพูดหรือเสียงอะไรเกิดขึ้นอยู่ในเว็บไซต์
3. การเข้าถึงความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Accessibility)
การทำเว็บไซต์ให้สามารถเข้าถึงโดยบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ หรือผู้ที่มีปัญหาในการทำความเข้าใจ เช่น โรคสมาธิสั้น (ADHD) หรือ โรคออทิสติกสเปกตรัม (ASD) บุคคลเหล่านี้อาจจะใช้เวลาในการประมวลผลยากขึ้น เว็บไซต์ควรจะหลีกเลี่ยงการมีองค์ประกอบเนื้อหาที่มากเกินไป ควรจัดองค์ประกอบให้เข้าใจง่าย
4. การเข้าถึงการเคลื่อนไหว (Motor Accessibility)
การทำเว็บไซต์ให้สามารถเข้าถึงบุคคลที่มีความพิการทางร่างกายซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ บุคคลที่สูญเสียความรู้สึกหรือการควบคุมกล้ามเนื้อ ผู้พิการทางร่างกาย และความบกพร่องทางร่างกายอื่นๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าเนื้อหาในเว็บไซต์ รองรับการใช้งานด้วยแป้นพิมพ์เต็มรูปแบบ หรือสามารถอ่าน หรือ นำทาง โดยใช้ง่ายร่วมกับอุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ ได้หลากหลาย การลดความซับซ้อน ทำให้สามารถไปยังเนื้อหาที่ต้องการได้ทันที