16 สิงหาคม 2552

เว็บไซต์นี้รองรับการใช้งานของผู้พิการทางสายตา จริงหรือ?

คำถาม

คนตาบอดคาดหวังอะไรจากเว็บเพจที่กำลังเปิดอยู่ตรงหน้า ?

วิเคราะห์

  • เนื้อหาที่สามารถ "อ่านได้" ด้วยโปรแกรมช่วยอ่าน หรือที่เรียกว่า Screen Reader
  • การเข้าถึงเนื้อหาหลักของเว็บเพจนั้นๆ อย่างสะดวก โดยสามารถ "ข้าม" กล่องเมนูต่างๆ ทางด้านบนของเว็บไซต์
  • เมนูสำคัญมี Access Key ให้ใช้ - สามารถเปลี่ยนหน้าเว็บเพจด้วยคำสั่งจากแป้นคีย์บอร์ด เช่น กลับไปหน้าแรก, ข่าวสารล่าสุด, ติดต่อเว็บไซต์ หรือ เมนูช่วยเหลือภายในเว็บไซต์
  • ระบบหัวข้อ และการเชื่อมที่ดี - ควรใช้ Header (h1, h2, h3 ฯลฯ) เพื่อระบุว่าเป็นหัวข้อสำคัญภายในเว็บ และโปรแกรมช่วยอ่านยังสามารถข้ามไปตามหัวข้อต่างๆ ได้ รวมทั้งมีคำอธิบายในแต่ละการเชื่อมโยง เพื่อคนตาบอดจะได้วางแผนในการเปิดเว็บเพจต่อไป เช่น บอกว่าการเชื่อมโยงต่อไป เป็นการเปิดอ่านเอกสาร PDF หรือเปิดเว็บไซต์อื่น

ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่ดี

ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่ควรปรับปรุง

ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่ควรปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง

  • คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่่อ http://www.media4democracy.com - เว็บไซต์นี้แสดงข้อความ "เว็บไซต์นี้รองรับการใช้งานของผู้พิการทางสายตา" - แต่ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่มาก และข้อมูลหลายส่วนในเว็บไซต์เป็นเอกสาร PDF ซึ่ง "อ่านไม่ได้" ด้วยโปรแกรมช่วยอ่าน
  • GotoKnow http://gotoknow.org - ขาดเครื่องมืออำนวยความสะดวก ทำให้โปรแกรมช่วยอ่านทำงานได้ยาก

คำถาม

มีเครื่องมืออะไรบ้าง ในการช่วยเหลือผู้พัฒนาเว็บไซต์ ให้จัดทำเว็บไซต์ที่สามารถรองรับการใช้งานคนตาบอด ?

วิเคราะห์

ในปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยพัฒนาสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายผลิตภัณฑ์ เช่น

  • เว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ เช่น Firefox หรือ Safari รวมทั้ง Internet Explorer มีความสามารถแสดงผลแบบไม่แสดงสไตล์ CSS ทำให้ช่วยมองภาพรวมของเว็บเพจ คล้ายกับลักษณะการอ่านของ Screen Reader
  • ส่วนเสริมใน Firefox เช่น Fangs เป็นการจำลองการทำงานของโปรแกรมช่วยอ่าน

คำถาม

ทำไมเว็บไซต์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถรองรับผู้ใช้งานที่เป็นคนตาบอด ?

วิเคราะห์

เป็นเพราะผู้ปฏิบัติรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ขาดความรู้-ความเข้าใจ-ความใส่ใจ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกทั้งเอกสารคู่มือในการจัดทำ โดยเฉพาะภาษาไทยที่มีอยู่จำนวนจำกัด

คำถาม

ผลตอบแทน หรือมูลค่าเพิ่มอื่นๆ หลังจากที่จัดทำเว็บไซต์ให้คนตาบอดใช้งานได้ มีหรือไม่ ?

วิเคราะห์

หลังจากจัดทำเว็บไซต์ให้คนตาบอดสามารถใช้งานได้ ย่อมเป็นผลดีต่อตัวเว็บไซต์ เพราะโปรแกรมหุ่นยนต์เก็บข้อมูล หรือที่เรียกว่า Robot จากเว็บไซต์บริการค้นหาต่างๆ เช่น Google, Yahoo หรือ Bing จะสามารถเข้ามาอ่านและเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก ทำให้เว็บไซต์นั้นค้นหาได้ง่าย หรือที่เรียกว่าเป็นการบริหาร SEO ทางอ้อมนั่นเอง

ข้อมูลน่าสนใจ

อ่านเพิ่ม

เอกสาร