17 กรกฎาคม 2559

โดเมน (domain) และ โดเมนย่อย (sub-domain)

โดเมน (domain) และ โดเมนย่อย (sub-domain)

"โดเมน" ประกอบด้วย ชื่อเรียก ตามด้วย ดอท . ไม่ว่าจะเป็น .com, .net หรืออะไรก็ตามแต่ ที่มีให้บริการ รวมถึง .co.th, .or.th และ .go.th (ในโพสต์นี้จะเรียกว่า "โดเมนหลัก")

ตัวอย่างเช่น poakpong.com อันนี้ เป็นลักษณะทั่วไป

สำหรับ "โดเมนย่อย" (sub-domain) อาจเรียกว่าเป็น เว็บย่อย ที่อยู่ภายใต้ "โดเมนหลัก" ที่มีคนจดทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งจะแสดงข้อมูลตัวอักษร (ชื่อเรียก) อยู่ด้านหน้าโดเมนหลักเสมอ

ผู้ที่สามารถสร้าง โดเมนย่อย จะต้องเป็นผู้ที่มี รหัสผ่าน ในการบริหารโดเมน (หรือเจ้าของโดเมนนั่นเอง)

** หมายเหตุ : โดเมนหลัก มีค่าบริการรายปี (มากน้อยตามประเภทดอท และผู้ให้บริการ) ส่วน โดเมนย่อย ไม่มีค่าบริการ ตามหลักการสามารถสร้างได้ไม่จำกัด (ยกเว้น กรณีผู้ให้บริการโฮสติ้งกำหนดจำนวนเอาไว้)

ขอยกตัวอย่างบางส่วน จากเว็บไซต์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีระบบการจัดโดเมนย่อยเอาไว้ดังนี้

  • police.go.th ชื่อ police ตามด้วย .go.th ถือเป็นโดเมนหลักขององค์กร (เมื่อเข้าเว็บแล้วเปลี่ยนทางไปที่ royalthaipolice.go.th ในกรณีนี้คือ เปลี่ยนชื่อโดเมน แต่สามารถเข้าจากเว็บเดิมได้)
  • cib.police.go.th โดย cib ด้านหน้าเป็นอักษรย่อของ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นหน่วยงานย่อยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • metro.police.go.th เป็นโดเมนย่อยของหน่วยงาน กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • div2.metro.police.go.th เป็นโดเมนย่อยของหน่วยงาน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของ กองบัญชาการตำรวจนครบาล
  • thapra.metro.police.go.th เป็นโดเมนย่อยของ สน.ท่าพระ ภายใต้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (7)

ถ้าไล่คลิกดูภายในเว็บสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะพบว่ามีโดเมนย่อยจำนวนมาก (แต่ก็มีบางส่วนเปลี่ยนทางไปใช้ โดเมนหลัก ของหน่วยงานตนเอง)

-------------------
บริการรับจดโดเมน
.com, .net, .org ปีละ 600 บาท
บริการรับจดโดเมน ภาษาไทย
เช่น ปกป้อง.com