ปี 2021-2022 ผู้ผลิตซีพียู CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ได้อัพเกรดผลิตภัณฑ์ของตัวเองอย่างมาก จนตอนนี้ตัวเลขรุ่นของ CPU ที่วางขายในท้องตลาดทั่วไปมีหลายรุ่นมาก ทั้งฝั่งของ Intel และค่าย AMD
** CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit เป็นหัวใจในการประมวลผลทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ **
Intel Gen 11th และ Gen 12th
เริ่มจากค่าย Intel ที่ในปีที่แล้ว 2021 ชูจุดขาย CPU Intel Core i Gen 11th (รุ่นที่ 11) ที่จริงๆ เปิดตัวครั้งแรกตั้งแต่เดือนกันยายน 2020
โดย Intel Gen 11th มีชื่อเรียกรุ่นว่า Tiger Lake สำหรับโน๊ตบุ๊ค และ Rocket Lake สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop)
แม้ว่าจะมี 2 รุ่นย่อย Tiger Lake และ Rocket Lake แต่วิธีการเช็ครุ่นทำได้เหมือนกัน คือ ให้สังเกตตัวเลข 2 หลักแรก ที่ตามหลังซีรีส์ Core i ว่าเป็นตัวเลขอะไร เช่น Intel Core i7-1165G7 ตัวเลข 2 หลักแรก "11" บอกว่า Gen 11th จากนั้นตัวเลข 2 หลักถัดมา (หรือในบางครั้งจะเป็น 3 หลัก) "65" เป็นการบอกสเปครุ่นย่อย ตัวเลขยิ่งมากกว่าก็จะยิ่งเร็ว และตัวอักษรชุดสุดท้าย "G7" เป็นการบอกคุณสมบัติของ CPU รุ่นนั้นๆ อย่างในตัวอย่างเป็น G7 เป็นรุ่นที่มีการ์ดจอ (G = Graphic) ฝังมากับชิปด้วย และ ตัวเลข G7 ก็จะแรงกว่า G4, G1
ทั้งนี้ ตัวอักษรชุดสุดท้ายบางครั้ง จะเป็นตัวอักษรตัวเดียว เช่น U เป็นรุ่นประหยัดพลังงาน, H เป็นรุ่นประสิทธิภาพสูง หรือ K เป็นรุ่นที่สามารถนำไป Overclock ได้ เป็นต้น
ปีนี้ 2022 ตั้งแต่ต้นปี เราจะได้เห็น CPU ของ Intel ที่เป็น Gen 12th หรือที่เรียกกันว่า Alder Lake (คราวนี้ทั้งฝั่งโน๊ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะใช้ชื่อ Alder Lake เหมือนกัน) ออกมาวางขายกันบ้างแล้ว เช่น Intel Core i7-12600P ที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค Lenovo Yoga 7i รุ่นหน้าจอ 14 นิ้ว เป็นต้น
AMD Ryzen 5000 และ Ryzen 6000
ข้ามมาทางฝั่ง AMD กันบ้าง สำหรับค่าย AMD นั้นมีการเปลี่ยนระบบการเรียงชื่อรุ่น มาใช้แบรนด์ Ryzen เมื่อปี 2017 และใช้การนับรุ่นแบบระบบ 1000, 2000, 3000 เรื่อยมา
จนในปี 2021 ปีที่แล้ว AMD อยู่ในยุคของ Ryzen 5000 ซีรีส์ (เริ่มเปิดตัวจริงๆ ตั้งแต่กลางปี 2020) ตัวอย่าง รหัสรุ่นของ AMD เช่น AMD Ryzen 7 5800H เป็นต้น
แต่เดี๋ยวก่อน! แม้ว่า AMD จะใช้ตัวเลขหลักพัน ในการกำหนดรุ่นซีรีส์ แต่ก็มีอีกปัจจัยหนึ่งที่บอกว่า CPU ตัวนั้นๆ ใช้สถาปัตยกรรมใดในการผลิต กล่าวคือ ภายใต้ชื่อ Ryzen 5000 ซีรีส์ จะมีคำว่า ผลิตด้วยสถาปัตยกรรม Zen 2 หรือว่า Zen 3 (ตัวเลขมากกว่า เทคโนโลยีใหม่กว่า) แม้ว่าจะผลิตออกมาในปีเดียวกัน
ตัวอย่าง CPU AMD Ryzen 5000 ซีรีส์ ที่ผลิตด้วยสถาปัตยกรรม Zen 2
- AMD Ryzen 3 5300U
- AMD Ryzen 5 5500U
- AMD Ryzen 7 5700U
ตัวอย่าง CPU AMD Ryzen 5000 ซีรีส์ ที่ผลิตด้วยสถาปัตยกรรม Zen 3
- AMD Ryzen 3 5400U
- AMD Ryzen 5 5600U, 5600H, 5600HS
- AMD Ryzen 7 5800U, 5800H, 5800HS
- AMD Ryzen 9 5800HS, 5900HX, 5980HS, 5980HX
ล่าสุดปี 2022 เปิดศักราชมาไม่กี่วัน AMD ก็ประกาศเปิดตัว CPU AMD Ryzen 6000 ซีรีส์ รุ่นใหม่ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี Zen 3+ ซึ่งพร้อมจะวางขายพร้อมกับโน๊ตบุ๊คในเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป
ตัวเอง CPU AMD Ryzen 6000 ซีรีส์ ที่ผลิตด้วยสถาปัตยกรรม Zen 3+
- AMD Ryzen 5 6600U, 6600H, 6600HS
- AMD Ryzen 7 6800U, 6800H, 6800HS
- AMD Ryzen 9 6900H, 6900HS, 6900HK
ทั้งนี้ หากจะเทียบ CPU ของ Intel และ AMD ว่าอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่ สามารถเทียบ Intel Core i3 กับ AMD Ryzen 3 รวมถึง Intel Core i5, Core i7 กับ AMD Ryzen 5, Ryzen 7 ได้เช่นกัน
การ์ดจอ Nvidia
สุดท้ายมาอ่านรุ่นการ์ดจอกันบ้าง โดยการ์ดจอที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นของคนใช้งานคอมพิวเตอร์ ในคือ Nvidia GeForce ซึ่งบริษัท Nvidia ก็ได้พัฒนาแบรนด์ GeForce ให้ก้าวกระโดดในไม่กี่ปีที่ผ่านมา และหลักไมล์สำคัญคือ Nvidia GeForce GTX 10 ซีรีส์ (ในปี 2016) และ GTX 16 ซีรีส์ (ปี 2019)
จนมาล่าสุด Nvidia GeForce RTX 20 ซีรีส์ (ยกเลิก GTX มาใช้ RTX) เริ่มใช้งานในปี 2020 ได้รับการตอบรับอย่างถล่มทลาย ทั้งจากฝั่งคนใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป และผู้ที่ประกอบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการขุดเหมืองเหรียญสกุลเงินดิจิทัล
และปี 2021 ที่ผ่านมา Nvidia ก็เปิดตัว GeForce RTX 30 ซีรีส์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดการ์ดจอคอมพิวเตอร์
สำหรับการอ่านรุ่นของการ์ดจอ Nvidia GeForce นั้นจะง่ายกว่าการอ่านรุ่นของ CPU เพราะตัวเลขตรงไปตรงมามากกว่า
Nvidia GeForce RTX 20 ซีรีส์
- Nvidia GeForce RTX 2060 (รุ่นเริ่มต้น ราคาถูกที่สุด)
- Nvidia GeForce RTX 2060 Super
- Nvidia GeForce RTX 2070
- Nvidia GeForce RTX 2070 Super
- Nvidia GeForce RTX 2080
- Nvidia GeForce RTX 2080 Super
- Nvidia GeForce RTX 2080 Ti (แรงที่สุด แพงที่สุด)
Nvidia GeForce RTX 30 ซีรีส์
- Nvidia GeForce RTX 3050 (รุ่นเริ่มต้น ราคาถูกที่สุด)
- Nvidai GeForce RTX 3050 Ti
- Nvidia GeForce RTX 3060 (แนะนำรุ่นนี้ สำหรับคนที่อยากใช้งานการ์ดจอแยกระดับเริ่มต้น)
- Nvidia GeForce RTX 3060 Ti
- Nvidia GeForce RTX 3070
- Nvidia GeForce RTX 3070 Ti
- Nvidia GeForce RTX 3080
- Nvidia GeForce RTX 3080 Ti
- Nvidia GeForce RTX 3090
- Nvidia GeForce RTX 3090 Ti (แรงที่สุด แพงที่สุด)
แถมท้ายด้วยการ์ดจอ GeForce MX ของค่าย Nvidia เช่นกัน แม้ว่าประสิทธิภาพจะไม่สามารถเทียบได้กับแบรนด์ใหญ่ของบริษัทอย่าง GeForce RTX แต่การ์ดจอ MX ก็ทำงานได้ดีกว่า "การ์ดจอที่ฝังมากับ CPU" (ที่มักเรียกกันว่า การ์ดจอออนบอร์ด หรือ การ์ดจอออนชิป)
- Nvidia GeForce MX570 (ปี 2022)
- Nvidia GeForce MX550 (ปี 2022)
- Nvidia GeForce MX450 (ปี 2020)
- Nvidia GeForce MX430 (ปี 2020)
- Nvidia GeForce MX350 (ปี 2020)
- Nvidia GeForce MX330 (ปี 2020)
- Nvidia GeForce MX250 (ปี 2019)
- Nvidia GeForce MX230 (ปี 2019)