รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ประกาศเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มีอยู่ 1 มาตรา ที่สามารถใช้แทน (replace) กฎหมายทุกข้อ ในประเทศไทย นั้นคือ มาตรา 44 หรือ ม.44 ที่หลายคนพูดจนติดปาก และเห็นว่ามันดี
ลองมาอ่าน มาตรา 44 กันอีกสักครั้ง
มาตรา 44 รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เขียนไว้ว่า
มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือ ปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรณฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัตตามคำสั่งดังกล่าว เป็นคำสั่ง หรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
อ้างอิง: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
เมื่อ มาตรา 44 กลายเป็นอำนาจล้นฟ้า อยากได้สิ่งได้ ก็ต้องได้สิ่งนั้น
- รวมผลงาน การใช้อำนาจมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว (2557-ปัจจุบัน) (iLaw)
- สรุปประเด็นสำคัญ : คำสั่งหัวหน้า คสช. เหมือน/ต่าง กับกฎหมายความมั่นคงอื่นอย่างไร (iLaw)
- สถานการณ์ปี 2559 5/5: ความเงียบแบบผูกขาด ออกกฎหมายจำนวนมากประชาชนไม่รู้เรื่อง (iLaw)
- คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 กับ 13/2559: บทเรียนปัญหาอำนาจนอกระบบที่ตรวจสอบถ่วงดุลไม่ได้ (iLaw)
มากกว่า 120 กรณี ตามคำสั่ง มาตรา 44 ของหัวหน้า คสช.
จากการรวบรวมของ iLaw หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ทำการรัฐประหารประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ทำการออกคำสั่ง หัวหน้า คสช. อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ไปแล้วมากกว่า 120 กรณี -- อ่านได้จาก link ด้านบน - รวมผลงาน การใช้อำนาจมาตรา 44ฯ
** รูปประกอบจาก - 'ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน' สรุป 15 ประเด็น ว่าด้วยมาตรา 44 (ประชาไท)