Drupal คู่มือ

คู่มือ สร้างเว็บไซต์ด้วย Drupal CMS

คู่มือ Drupal นี้เป็นการสรุปคำอธิบาย อ้างอิงมาจาก Handbook ในเว็บไซต์ Drupal.org แต่เพื่อป้องกันความสับสน จะขอสรุปเฉพาะคอนเซ็ปภาพรวม ไม่เจาะลึกในรายละเอียด ถ้าจะให้นำมาเขียนเป็น คู่มือ Drupal คงต้องใช้เวลาอธิบายกันพอสมควร

โครงสร้างพื้นฐานของ Drupal CMS

คู่มือ Drupal: รู้จัก node, content type และ field

เนื้อหาแต่ละชิ้นในเว็บจะเรียกว่า node โดย node จะมี field พื้นฐาน -- ในหนึ่ง node จะสามารถกำหนดให้เป็น content type ได้แค่ประเภทเดียวเท่านั้น (เช่น Article หรือ Basic page) -- โดยเราสามารถสร้าง-ปรับแต่ง field ให้กับแต่ละ content type ได้อย่างอิสระ

ถ้าเราใช้ Drupal รุ่นเก่า จะต้องติดตั้ง module ชื่อ CCK และถ้าเราใช้ Drupal 7 ความสามารถของ CCK จะรวมมาอยู่ใน Drupal core ซึ่งพร้อมใช้งานในทันที (ในการติดตั้ง Install Drupal แบบ Standard)

คู่มือ Drupal: จัดระเบียบเนื้อหาด้วย taxonomy

Taxonomy เป็น module หลัก ในการทำงานของเว็บ เราสามารถบริหารจัดการคำสำคัญในส่วนต่างๆ เช่น category, tag หรือ metadata ใน Drupal แต่ละ terms จะเก็บอยู่ใน vocabularies โดย module "Taxonomy" จะเป็นตัวจัดการ สร้าง-แก้ไข vocabolaries

ใน Drupal 7 ได้เพิ่มความสามารถในการเพิ่ม field ให้กับ vocabularies และ terms

Taxonomy ช่วยในการจัดระเบียบเนื้อหา รวมทั้งสะดวกในการจัดการผ่านเมนูและลิงก์นำทาง -- หลายๆ modules สามารถใช้งานร่วมกับ taxonomy ที่สร้างไว้แล้ว เช่น การสร้างเมนูโดยที่อ้างอิงจากแท็ก

คู่มือ Drupal: ปรับแต่งการแสดงความเห็น

ใน Drupal อนุญาตให้ผู้ใช้แสดงความเห็นได้ในทุกชนิดของเนื้อหา ตามที่ admin ได้กำหนดสิทธิไว้

แอดมินสามารถกำหนดตัวเลือกพื้นฐานของการแสดงความเห็นในแต่ละชนิดของเนื้อหา โดยสามารถกำหนดสิทธิให้แต่ละ content type อีกทั้งยังสามารถกำหนดแยกเป็นแต่ละ node ได้อีกด้วย

ใน Drupal 7 เราสามารถสร้างช่องใส่ข้อมูลเพิ่มเติมให้กับการแสดงความเห็นได้อีก

คู่มือ Drupal: การทำงานร่วมกับเมนู

เมนูคือการจัดระเบียบของลิงก์ (menu items) สามารถใช้เป็นเมนูนำทางของเว็บไซต์ Menu สามารถปรับแต่งและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในทุกชุดเมนูจะมีการสร้าง Block แบบอัตโนมัติในชื่อเดียวกัน

คู่มือ Drupal: การทำงานร่วมกับ Views

Views คือวิธีการแสดงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างเว็บด้วย Drupal โดย module นี้จะช่วยเรียกเนื้อหาจากฐานข้อมูลและแสดงผลในรูปแบบต่างๆ ตามที่ต้องการ

คู่มือ Drupal: การทำงานร่วมกับ Block (ส่วนประกอบใน regions)

Block คือกล่องของข้อมูล (เช่น กล่อง “User Login” หรือ กล่อง “Who’s online”) ที่แสดงผลอยู่ใน regions (เช่น footer ส่วนล่างของเว็บ หรือ sidebar ด้านข้าง) ในแต่ละหน้าเพจ

เราสามารถจัดการย้ายตำแหน่ง Block ไปตาม regions ต่างๆ ได้ที่เมนู Block Admin (Administer > Site building > Blocks)

คู่มือ Drupal: การทำงานในส่วนข้อมูลผู้ใช้

ใน Drupal 7 เราสามารถเพิ่มรายละเอียดของผู้ใช้ได้ในลัษณะเดียวกับ node โดยเข้าไปที่ Administer > Configuration > People > Account settings และคลิกแท็ป “Manage fields” เพื่อเพิ่มช่องใส่ข้อมูล

คู่มือ Drupal: สร้างหน้าเพจที่ซับซ้อนด้วย Panels

Panels อนุญาตให้แอดมินสร้างหน้าเพจในการใช้งานแบบต่างๆ