วันนี้ (6 ส.ค. 2552) เวลา 10.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 6 เดือน - อ่านรายละเอียดข้อมูลการแถลงผลงาน (เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์) - พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวเว็บไซต์ www.pm.go.th - รายละเอียดส่วนต่างๆ ภายในเว็บไซต์ อ่านได้ที่บล็อกของคุณ iPattt.com - เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารกับประชาชนได้โดยตรงอีกด้วย
จากประเด็น "รัฐบาลเปิดเว็บไซต์ www.pm.go.th" (ข่าวจากเว็บไซต์ไทยรัฐ) เลยลองตั้งคำถามและวิเคราะห์ถึงสาเหตุการเกิดขึ้นของเว็บไซต์ pm.go.th
คำถาม
- ทำไมนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีเว็บไซต์ประจำตำแหน่ง ?
วิเคราะห์
- เพราะประเทศไทยไม่เคยมีเว็บไซต์เฉพาะของนายกรัฐมนตรี - คำอธิบายจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- เพราะเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี (www.opm.go.th) ไม่มีพื้นที่ให้ "นายกรัฐมนตรี" ได้บอกเล่าเรื่องราว หรือสื่อสารในสิ่งที่ต้องการบอกกับประชาชนโดยตรง - ผ่านทางเว็บไซต์ - อาจด้วยเพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ภายในเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี มีแต่ข่าวประจำสำนักนายกฯ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวประกาศ-การจัดซื้อ-จัดจ้าง ข่าวสมัครงาน
- จากการสำรวจพบคำ ว่า "นายก" (ทั้งจากส่วนหนึ่งของคำว่า นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี) ปรากฎอยู่ในหน้าแรก ของเว็บไซต์ opm.go.th เพียง 19 คำ และมีคำว่า "อภิสิทธิ์" เพียง 1 คำเท่านั้น! ซึ่งอาจดูน้อยเกินไป - สำรวจ ณ วันที่ 6 ส.ค. 2552
- ด้วยวิธีการบริหารแบบประชาธิปัตย์ ที่ใช้พื้นที่สื่อสารสาธารณะหลายช่องทาง จากโลกออฟไลน์สู่โลกออนไลน์ ปัจจุบัน รัฐบาลไทย ที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีตำแหน่งโฆษกมากมาย ตั้งแต่ โฆษกรัฐบาล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ - อ่าน "โฆษกธิปไตย" เพิ่มจากบทความ ไทยโพสต์แทบลอยด์ สัมภาษณ์ “พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์” : 6 เดือนระบอบไม่เอาทักษิณ เว็บไซต์ประชาไท
- จึง อาจใช้แนวทางการบริหารงานในลักษณะคล้ายกันนี้ กับโลกอินเทอร์เนตด้วย เว็บไซต์สำนักนายกฯ อาจใช้คู่กับโฆษกประจำสำนักนายกฯ เว็บไซต์นายกรัฐมนตรีฯ อาจใช้คู่กับโฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น
คำถาม
- กลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์ www.pm.go.th คือใคร ?
วิเคราะห์
- กลุ่มผู้ใช้งานที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี - โดยเฉพาะเกี่ยวกับกิจกรรมของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - รวมทั้งผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผลงานตามนโยบายรัฐบาลพรรค ประชาธิปัตย์ ซึ่งรวบรวมไว้เป็นอย่างดีเยี่ยม
คำถาม
- ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากเว็บไซต์ประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย ?
วิเคราะห์
- ประชาชนผู้เข้าถึงอินเทอร์เนต จะสามารถติดตามความข่าวสาร เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี ได้อย่างใกล้ชิด ราวกับเป็นแฟนคลับรายการ Academy Fantasia (แบบแห้ง) ซึ่งมีทั้งภาพถ่ายจำนวนมาก สามารถชมคลิปวิดีโอย้อนหลัง รวมทั้งข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวนายกฯ
- มีช่องทางในการส่งข้อความถึงนายกรัฐมนตรีโดยตรง รวมทั้งสามารถโหวตให้คะแนนกับคำถามที่น่าสนใจ - ลงทะเบียนก่อนใช้งาน - และจะได้รับการรวบรวมไปตอบในหัวข้อ นายกตอบคำถาม ทุกสัปดาห์
หมายเหตุ
- เว็บไซต์ www.opm.go.th เขียนด้วยโปรแกรมภาษา ASP
- เว็บไซต์ www.pm.go.th เขียนด้วยโปรแกรมภาษา PHP โดยทำงานอยู่บน Drupal CMS
ทิ้งท้าย
- ในฐานะที่เว็บไซต์นี้ชื่อ "นายกรัฐมนตรีไทย" จึงอยากตั้งข้อสังเกตว่าจะมีหัวข้อเนื้อหาประเภทนายกรัฐมนตรีไทยในอดีตหรือไม่ ? -- สงสัยต้องทำ link ให้คลิกไปอ่านที่ th.wikipedia.org
ของแถม
- เหตุใดรัฐบาลไทย จึงไม่ใช้วิธีปรับปรุงเว็บไซต์ที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับกับความต้องการของผู้ใช้งาน แต่กลับใช้วิธีสร้างเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมาแทน - ขอยกตัวอย่างต่างประเทศที่เป็นรูปธรรม หลังจากประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา รับตำแหน่ง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญภายในเว็บไซต์ whitehouse.gov (ข่าวจากเว็บไซต์ blognone.com) ให้สอดรับตอบสนองกับนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่
- ทั้งนี้ผมเองไม่มีข้อมูลว่าในประเทศอื่นๆ จะมีเว็บไซต์สำหรับ นายกรัฐมนตรี หรือ ประธานาธิบดี โดยเฉพาะแบบนี้หรือไม่