ยุคก่อนฟุตบอลสมัยปัจจุบัน
หลังจาก ร.6 ทรงตั้ง ส.ฟุตบอลแห่งชาติสยาม ในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการจัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่ (เปลี่ยนเป็น ถ้วย ก) ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 และ ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2460 จากนั้นก็จัดการแข่งขันเรื่อยมาทุกปี (ยกเว้น ปี 2468, 2475-2490 และ 2493 ) ส่วนการแข่งขัน ถ้วยน้อย (ถ้วย ข) เริ่มแข่งขันครั้งแรกในปีพ.ศ. 2459 และจัดแข่งขันเรื่อยมาทุกปี
หมายเหตุ: 25 มิถุนายน 2468 ได่เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ F.I.F.A
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก
ในสมัยนั้นถูกยกให้เป็นเสมือนลีกสูงสุดของไทย จัดการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์ ในแต่ละปีใช้วิธีแบ่งกลุ่ม และเข้ารอบไปเล่นรอบน็อกเอาท์จนถึงรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้แชมป์ ถ้วย ก จะได้โควต้าตัวแทนประเทศไทยไปแข่งสโมสรระดับเอเชีย จัดการแข่งขันในรูปแบบทัวร์นาเม้นท์ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2538 เป็นฤดูกาลสุดท้าย หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการแข่งขัน
ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข
(รอเพิ่มข้อมูล)
หมายเหตุ: พ.ศ. 2500 ได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย A.F.C
ต่อมาในปี 2505 ส.ฟุตบอล จึงเพิ่มการแข่งขัน ถ้วย ค. และ ถ้วย ง. แบ่งเป็นระบบลีกตามสมัยนิยมแบบอังกฤษ ทำการแข่งขันเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2538
ยุคฟุตบอลลีก (พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2539 ไทยแลนด์ ซอคเกอร์ลีก 2539 ฤดูกาลแรก
สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขัน ไทยแลนด์ ซอคเกอร์ลีก ประกอบด้วย 18 ทีมจาก ถ้วย ก เดิม โดยเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมดเหย้า-เยือน (Double Round-robin League) เพื่อหา 4 อันดับแรกเข้าสู่รอบเพลย์ออฟหาแชมป์ และ 6 อันดับท้ายของตารางจะตกชั้นไปเล่น ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาลถัดไป
พ.ศ. 2540 ไทยลีกดิวิชั่น 1 2540 ฤดูกาลแรก
ก่อตั้ง ไทยลีกดิวิชั่น 1 (หลังจาก ไทยแลนด์ ซอคเกอร์ลีก 1ปี) เพื่อรองรับทีมที่ตกชั้น และรวมกับทีมที่ชนะเลิศ ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข มีทีมเข้าแข่งขัน 10 ทีม และขยายเป็น 12 ทีมตามลำดับ
- ไทยแลนด์ซอคเกอร์ลีก 12 ทีม จบฤดูกาลอันดับ 12 ตกชั้น / อันดับ 11 ต้องแข่งเพลย์ออฟกับรองแชมป์ ไทยลีกดิวิชั่น 1 เพื่ออยู่รอด
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 10 ทีม (6 ทีมที่ตกชั้นจากไทยแลนด์ซอคเกอร์ลีก + 4 อันดับแรกจาก ถ้วย ข) ไม่มีการเพลย์ออฟหาแชมป์ ทีมอันดับ 1 ได้เลื่อนชื่น ทีมอันดับ 2 ต้องเพลย์ออฟกับอันดับรองสุดท้าย ไทยแลนด์ซอคเกอร์ลีก
พ.ศ. 2541
พรีเมียร์ลีก 2541 ประกอบด้วย 12 ทีม (อันดับสุดท้ายตกชั้น)
พ.ศ. 2542 เริ่มแข่งขัน โปรลีก
สมาคมฟุตบอล เชิญทีมจากการคัดเลือกทั่วประเทศ มาแข่งขันในรูปแบบลีก โดยเรียกการแข่งขันนี้ว่า โปรวินเชียลลีก
- พรีเมียร์ลีก 2542 ประกอบด้วย 12 ทีม (2 อันดับสุดท้ายตกชั้น)
- โปรลีก 2542/43 มีทีมระดับภูมิภาค เข้าแข่ง 12 ทีม
พ.ศ. 2543
พรีเมียร์ลีก 2543 ประกอบด้วย 12 ทีม (ฤดูกาลนี้ไม่มีทีมตกชั้น)
พ.ศ. 2544
- ไทยลีก 2544/45 ประกอบด้วย 12 ทีม (ตกชั้น 3 ทีม)
- โปรลีก 2544 ระดับภูมิภาค 12 ทีม
พ.ศ. 2545 กกท เข้ามาดูแลโปรลีก
กกท. เข้ามาดูแล โปรวิลเชียลลีก และเปลี่ยนชื่อเป็นโปรเฟชชั่นนอล ลีก
- ไทยลีก 2545/46 ประกอบด้วย 10 สโมสร (ตกชั้น 2 ทีม)
- โปรลีก 2545 แบ่งออกเป็น 2 สายๆ ละ 6 ทีม และเอา 3 ทีมแรก มาแข่งขันรอบ 2
พ.ศ. 2546
- ไทยลีก 2546/47 ประกอบด้วย 10 สโมสร ตกชั้น 2 ทีม
- โปรลีก 2546 ประกอบด้วย 12 ทีม จบฤดูกาล มีกำหนด 2 ทีมสุดท้ายตกชั้นไปเล่นโปรลีก 2
พ.ศ. 2547 แยกโปรลีก ออกเป็น โปรลีก 1 และ โปรลีก 2
แบ่งการแข่งขัน โปรลีก ออกเป็น 2 ระดับ คือ โปรลีก 1 และ โปรลีก 2 โปรลีก 1 มีทีมเข้าแข่งขัน 18 ทีม แข่งแบบเหย้า-เยือน และ โปรลีก 2 แข่งตาม 5 ภูมิภาค หาทีมชนะเลิศ 2 ทีม รวมเป็น 10 ทีม
- ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2547/48 ประกอบด้วย 10 ทีม (ตกชั้น 2 ทีม)
- โปรลีก 2547 ประกอบด้วย 10 ทีม ตกชั้น 2 ทีม
- โปรลีก 2 ประกอบด้วย 10 ทีม (ทีมที่ตกชั้นจากโปรลีก 2546 จำนวน 2 ทีม รวมกับแชมป์ และรองแชมป์ จาก 4 ภูมิภาค เหนือ, อีสาน, ใต้, กลาง+ตะวันออก
พ.ศ. 2548
- โปรลีก 2548 ประกอบด้วย 10 ทีม โดย 2 อันดับแรก ไปแข่งไทยแลนด์ฟรีเมียร์ลีก 2549 และ 2 ทีมล่าง ตกชั้นไปเล่นโปรลีก 2
- โปรลีก 2 ประกอบด้วย 10 ทีม (ทีมตกชั้นจากโปรลีก 2547 จำนวน 2 ทีม รวมกับแชมป์ และรองแชมป์จาก 4 ภูมิภาค)
พ.ศ. 2549 ยุบโปรลีก 1
ยุบการแข่งขัน โปรลีก 1 โดยไปรวมกับ ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีก / ไทยลีกดิวิชั่น 1 และ ไทยลีกดิวิชั่น 2 หลังจากยุบโปรลีก 1 ก็เปลี่ยนชื่อ การแข่งขัน โปรลีก 2 ไปเป็น โปรวินเชียลลีก อีกครั้ง และเริ่มแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 2 (ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในเวลาต่อมา)
- ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2549 ประกอบด้วย 12 ทีม (8 สโมสรเดิม รวมกับ 2 ทีมจากดิวิชั่น 1 และ 2 ทีมจากโปรลีก 2548) และไม่มีการตกชั้น
- โปรเฟสชันนอลลีก 2549 ประกอบด้วย 16 ทีม จบสุดฤดูกาล ได้ยุบโปรลีก เอา 2 ทีมแชมป์ไปแข่ง ไทยแลนด์ฟรีเมียร์ลีก 2550, ทีมกลางตารางไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1, 2 ทีมตกชั้นไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 2
- โปรลีก 2 ประกอบด้วย 10 ทีม 2 ทีมตกชั้นจาก 2548 และ 8 ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 4 ภูมิภาค เอา 2 ทีมไปแข่งไทยลีกดิวิชั่น 1
พ.ศ. 2550
- ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 ประกอบด้วย 16 ทีม (12 ทีมเดิม 2 ทีมจากดิวิชั่น 1 และ 2 ทีมจากโปรลีก) จบฤดูกาล ตกชั้น 4 ทีม
- ดิวิชั่น 1 2550 รวม 24 ทีม ประกอบด้วย 7 ทีมจากดิวิชั่น 1 2549, 2 ทีมจากดิวิชั่น 2, 11 ทีมจากโปรลก 1, 2 ทีมจาก ถ้วย ข และ 2 ทีมจากโปรลีก 2 โดยจัดการแข่งแบบ 2 สายๆ ละ 12 ทีมเอา 2 อันดับ จากสองสาย มาเตะหาแชมป์ โดยแชมป์ รองแชมป์แต่ละสาย รวม 4 ทีมไปแข่งไทย ลีก, 5 อันดับท้ายของแต่ละสาย ตกชั้นไปดิวิชั่น 2
- ดิวิชั่น 2 ประกอบด้วย 12 ทีม ประกอบด้วย 8 ทีมที่มาจากดิวิชั่น 2 ฤดูกาลก่อน, 2 ทีมจากดิวิชั่น 1 เมื่อจบฤดูกาล 2 อันดับแรก ไปแข่ง ดิวิชั่น 1 และ 2 ทีมอับดับสุดท้ายไปแข่ง ถ้วย ข
- โปรลีก 2550 หรือเรียกว่า แซต แชมเปี้ยนชิพ 2550 (โปรลีก 2 เดิม) ระกอบด้วย 10 ทีม จากแชมป์ และรองแชมป์จาก 5 ภาค เหนือ อีสาน ใต้ กลาง ตะวันออก เมื่อจบฤดูกาล เอา 2 ทีม ไปแข่งดิวิชั่น 2
พ.ศ. 2551
- ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2551 ประกอบด้วย 16 ทีม เมื่อจบฤดูกาล ตกชั้น 3 ทีมไปแข่งดิวิชั่น 1
- ดิวิชั่น 1 2551 ประกอบด้วย 18 ทีม 10 ทีมเดิม, 4 ทีมจากดิวิชั่น 2 และ 4 ทีมที่ตกชั้นมาจากไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2550 จบฤดูกาล 3 ทีมบนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 ทีมตกชั้นไปแข่งดิวิชั่น 2
- ดิวิชั่น 2 2551 ประกอบด้วย 22 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย โดยแชมป์ รองแชมป์ แต่ละสาย เลื่อนไปแข่งดิวิชั่น 1 รวม 4 ทีม และตกชั้นสายละ 5 ทีม ไปแข่งโปรวินเชียลีก 6 ทีม ไปแข่ง ถ้วย ข 4 ทีม (รวม 10 ทีม)
- โปรวินเชียลลีก 2551 แข่งขันขันรอบคัดเลือก 4 กลุ่ม (11+10+13+8 รวมทั้งสิ้น 42 ทีม) เอาแชมป์ รองแชมป์ ของแต่ละกลุ่มรวม 8 ทีม แข่งขันแบบ 2 สายๆ ละ 4 ทีม จากนั้นหาแชมป์แบบน็อกเอาท์
พ.ศ. 2552 เริ่มใช้ระบบภูมิภาค ในการแข่งระดับดิวิชั่น 2
ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกาศเพิ่มทีมเข้าแข่งขันเป็น 18 ทีม เป็นฤดูกาลแรก ที่ไทยลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 แข่งขันแบบแยกภูมิภาค เหนือ อีสาน กลาง+ตะวันออก กทม และ ใต้ แล้วนำแชมป์มาแข่งแบบมินิลีก
- ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ประกอบด้วย 16 ทีม จบฤดูกาล เอา 3 ทีมตกชั้น
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 2552 ประกอบด้วย 16 ทีม (10 ทีมเดิม, 2 ทีมจากไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก, 3 ทีมจากดิวิชั่น 1 และ 1 ทีมจากการเพลย์ออฟ (ทีมตกชั้นฤดูกาลที่แล้ว) จบฤดูกาล 3 ทีมบน ไปแข่งไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 3 ทีมล่างไปแข่ง ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
- ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2552 เอาแชมป์ 5 สายมาแข่งแบบมินิลีก อันดับ 1-3 ได้ไปแข่ง ดิวิชั่น 1
พ.ศ. 2553
- ไทยพรีเมียร์ลีก 2553 ประกอบด้วยทีม 16 ทีม เมื่อจบฤดูกาลเอา 3 ทีมตกชั้น
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 2553 ประกอบด้วย 16 ทีม ก่อนเปิดฤดูกาลมีการเล่นเพลย์ออฟ หา 4 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน จบฤดูกาลเอา 3 ทีมบน ไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก () และ 4 ทีมล่าง ไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
- ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 5 สาย + 2 ทีมอันดับสาม ดีที่สุด จากทุกสาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายขึ้นไปไทยลีกดิวิชั่น 1 และ อันดับ 3-4 ของแต่ละสายไปเพลย์ออฟกันทีมจาก ไทยลีกดิวิชั่น 1 (สระบุรี, เจดับบริว และ บางกอก เอฟซี)
พ.ศ. 2554
- ไทยพรีเมียร์ลีก 2554 ประกอบด้วย 18 ทีม เพิ่มจากเดิม 2 ทีม โดยใช้การเพลย์ออฟคัดเลือก จบฤดูกาล เอา 3 ทีมตกชั้น
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 18 ทีม คือ 10 ทีมกลางตารางเดิม รวมกับ 1 ทีมจากไทยพรีเมียร์ลีก และ 7 ทีมจากลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จบฤดูกาลเอา 3 ทีมบนไปแข่งไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 ทีมล่าง ตกชั้นไปลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
- ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 5 สาย + 2 ทีมอันดับสาม ดีที่สุด จากทุกสาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1
พ.ศ. 2555
- ไทยพรีเมียร์ลีก 2555 ประกอบด้วย 18 ทีม จบฤดูกาลเอา 3 ทีมตกชั้น
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 รวม 18 ทีม (จากกลางตารางเดิม 11 ทีม รวมกับ 3 ทีมจากไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 ทีมจากลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอา 3 อันดับ บนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 5 อันดับล่างไปเล่นลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (ปกติตก 4 ทีม แต่ปัญหาเรื่องนครปฐม ทำให้ต้องตกชั้น 5 ทีม เปิดทางในนครปฐม กลับมาแข่งดิวิชั่น 1 ฤดูกาลหน้า)
- ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 5 สาย + 2 ทีมอันดับสาม ดีที่สุด จากทุกสาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1
พ.ศ. 2556 ดิวิชั่น 2 ขยายเป็น 6 โซน
ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ได้ขยายโซนภูมิภาค เป็น เหนือ อีสาน กทม+กลาง กลางตะวันออก กลางตะวันตก และ ใต้
- ไทยพรีเมียร์ลีก 2556 ประกอบด้วย 18 ทีม แต่ปัญหาเรื่องศรีสะเกษ กับอีสาน ยูไนเต็ด ทำให้ เหลือตกชั้น 1 ทีม โดยในฤดูกาลหน้าจะเพิ่มทีมเป็น 20 ทีม
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 2556 ประกอบด้วย 18 ทีม เอา 3 อันดับบนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 อันดับล่างไปเล่นลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
- ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 6 สาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1
พ.ศ. 2557
- ไทยพรีเมียร์ลีก 2557 ประกอบด้วย 20 ทีม จบฤดูกาล เอา 5 ทีมตกชั้น เพื่อลดให้เหลือ 18 ทีมตามเดิม
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 18 ทีม เอา 3 อันดับบนไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ 4 อันดับล่างไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2
- ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชมป์ และรองแชมป์ 6 สาย รวมเป็น 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของแต่ละสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1
พ.ศ. 2558
- ไทยพรีเมียร์ลีก 2558 ประกอบด้วย 18 ทีม จบฤดูกาล เอา 3 ทีมตกชั้น
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 ประกอบด้วย 20 ทีม เอา 3 อันดับบน ไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก และ เอา 6 อันดับล่างไปเล่น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (เพื่อลดให้เลือก 18 ทีมตามเดิม)
- ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 เอาแชม์ และ รองแชมป์ 6 สาย (อันดับ 3 อีสาน เพลย์ออฟ กับ รองแชมป์ใต้) รวม 12 ทีม แบ่งเป็น 2 สาย เอาอันดับ 1-2 ของสายไปแข่ง ไทยลีกดิวิชั่น 1
หมายเหตุ: ในปี พ.ศ. 2558 มีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นหลายอย่าง อาทิ บีอีซี เทโรศาสน อันดับ 16 ตกชั้น แต่สระบุรี เอฟซี อันดับ 14 ขอถอนทีม ทำให้ บีอีซี เทโรศาสน ได้แข่งไทยพรีเมียร์ลีกต่อไป
พ.ศ. 2559
ภายหลังการเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 สมยศ พุ่มพันธ์ุม่วง ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น นายกสมาคมฯ คนใหม่
ข้อมูลการแข่งขันต่างๆ มีปัญหาการส่งมอบข้อมูล ทำให้สภากรรมการชุดใหม่ ตัดสินใจ จัดตั้ง 3 บริษัทใหม่ เพื่อดำเนินการแข่งขันของฟุตบอลใน 3 ระดับได้แก่ บริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ไทยลีกดิวิชั่น 1 จำกัด และ บริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จำกัด
- ไทยลีก 2016 (จัดการแข่งขัน ภายใต้ บริษัท พรีเมียร์ ลีก (ไทยแลนด์) จำกัด) มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 18 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน เอา 3 ทีมอันดับสุดท้าย ตกชั้น 3 ทีม
- ก่อนการแข่งขัน
- สโมสร สระบุรี เอฟซี - ประกาศถอนทีม เพราะมีปัญหาด้านการเงิน
- สโมสร บีอีซี เทโรศาสน - ที่ตกชั้นจาก ไทยพรีเมียร์ลีก 2015 ได้สิทธิกับมาแข่งขัน แทนสโมสร สระบุรี เอฟซี ในการแข่งขัน ไทยลีก 2016
- สโมสร เพื่อนตำรวจ - แชมป์ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2015 ไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง เพราะมีปัญหาค้างค่าจ้างนักกีฬา ทำให้ถูกระงับการแข่งขัน ไทยลีก 2016 เป็นเวลา 1 ปี และจะสามารถกลับมาแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล 2016 หากแก้ปัญหาดังกล่าวได้
- จบฤดูกาล
- เนื่องจากการสวรรคตของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ในเดือนตุลาคม 2560 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัดสินใจยุติการแข่งขันภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมฯ ทั้งหมด โดยให้มีผลในการจัดอันดับ หาทีมชนะเลิศทันที ทั้งนี้ ไทยลีก 2016 เหลือการแข่งขัน อีก 3 นัด
- แชมป์ - เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- รองแชมป์ - แบงค็อก ยูไนเต็ด
- อันดับ 3 - บางกอกกล๊าส เอฟซี
- ตกชั้น 3 ทีม
- ชัยนาท ฮอร์นบิล
- อาร์มี่ ยูไนเต็ด
- บีบีซียู เอฟซี
- เนื่องจากการสวรรคตของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ในเดือนตุลาคม 2560 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัดสินใจยุติการแข่งขันภายใต้การกำกับดูแลของสมาคมฯ ทั้งหมด โดยให้มีผลในการจัดอันดับ หาทีมชนะเลิศทันที ทั้งนี้ ไทยลีก 2016 เหลือการแข่งขัน อีก 3 นัด
- ก่อนการแข่งขัน
- ไทยลีกดิวิชั่น 1 2016 (บริษัท ไทยลีกดิวิชั่น 1 จำกัด) มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 16 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน 3 ทีม อันดับ 1-2-3 ได้สิทธิเลื่อนชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก ฤดูกาลหน้า และ 1 ทีม อันดับสุดท้าย ตกชั้นไปแข่งขัน ดิวิชั่น 2
- ก่อนการแข่งขัน
- เดิมทีการแข่งขัน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016 จะมีทีมเข้าแข่งขัน 18 แต่เนื่องจากปัญหาคลับไลเซนซิ่ง ของสโมสรเพื่อนตำรวจ, สระบุรี เอฟซี และการได้สิทธิของ บีอีซี เทโรศาสน รวมถึงสโมสร พิจิตร เอฟซี, อยุธยา เอฟซี และ ภูเก็ต เอฟซี ก็ไม่ผ่าน คลับไลเซนซิ่ง ในการแข่งขันไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016
- จบฤดูกาล
- แชมป์ - ไทยฮอนด้า
- รองแชมป์ - อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด
- อันดับ 3 - การท่าเรือ เอฟซี
- ไม่มีทีมตกชั้น เนื่องจาก ขอนแก่น ยูไนเต็ด ถูกตัดสิทธิการแข่งขันของสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ทุกรายการ จากปัญหาการทำร้ายกรรมการ ภายหลังเกมการแข่งขัน ทำให้ ไทยลีก ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2016 เหลือทีมเข้าแข่งขันเพียง 15 ทีม จึงไม่มีทีมตกชั้น
- ก่อนการแข่งขัน
- ไทยลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (บริษัท ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 จำกัด) แบ่งการแข่งขันออกเป็น 8 โซน เอาทีมแชมป์และรองแชมป์ ในการแข่งขันฤดูกาลปกติ มาจับสลากประกบคู่ แข่งแบบเหย้า-เยือน น็อคเอาท์ เพื่อคันหา 3 ทีม แชมป์-รองแชมป์-อันดับ 3 เลื่อนชั้นไปแข่ง ดิวิชั่น 1 และ ทีมอันดับสุดท้ายของแต่ละโซน ตกชั้นไปแข่ง ดิวิชั่น 3
พ.ศ. 2560 ปรับโครงสร้าง ไทยลีก 1-4
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การดำเนินงานของ สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฯ ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ไทยลีก 1, ไทยลีก 2, ไทยลีก 3 (ประกอบด้วย 2 โซนการแข่งขัน) และ ไทยลีก 4 (ประกอบด้วย 6 โซนการแข่งขัน) โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท ไทยลีก จำกัด
- ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2017 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 18 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน ทีมชนะเลิศ จะได้สิทธิไปแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบแบ่งกลุ่ม และ อันดับที่ 2 ได้สิทธิแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือก ส่วน 3 ทีมอันดับสุดท้าย ตกชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก 2 ในฤดูกาลหน้า
- แชมป์ - บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- รองแชมป์ - เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- ตกชั้น 3 ทีม ได้แก่
- อันดับ 16 - ไทยฮอนด้า
- อันดับ 17 - ศรีสะเกษ เอฟซี
- อันดับ 18 - ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ
- ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2017 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 18 ทีมสโมสร เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน ทีมชนะเลิศ, อันดับ 2 และ อันดับ 3 ได้สิทธิเลื่อนชั้น แข่งขัน ไทยลีก 1 ในฤดูกาลหน้า ส่วน 3 อันดับสุดท้าย ตกชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 3 ต่อไป
- ในระหว่างการฤดูกาลแข่งขัน สโมสรฟุตบอล บีบีซียู เอฟซี ที่ตกชั้นมาจาก ไทยลีก 2016 ตัดสินใจ ถอนทีมจากการแข่งขัน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2017 ทำให้เหลือทีมแข่งขันเพียง 17 ทีมเท่านั้น
- ในช่วงท้ายฤดูกาล สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ประกาศตัดสิทธิการแข่งขันในฤดูกาลหน้า ของ สโมสรฟุตบอล นครปฐม ยูไนเต็ด และ สโมสรฟุตบอล สมุทรสงคราม เอฟซี เนื่องจากไม่ดำเนินการส่งเอกสารขออนุญาตสโมสร (คลับไลเซนซิ่ง) ทำให้ต้องตกชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 4 ในฤดูกาลหน้า
- สโมสรฟุตบอล ตราด เอฟซี ถูก FIFA ตัดสิน ให้สมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ตัด 3 คะแนน จากปัญหาการยกเลิกสัญญานักกีฬาอย่างไม่เป็นธรรม
- จบการแข่งขัน
- แชมป์ - ชัยนาท ฮอร์นบิล
- รองแชมป์ - แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี
- อันดับ 3 - ประจวบ เอฟซี
- ตกชั้น (ปกติ) 2 ทีม
- อันดับ 16 - สงขลา ยูไนเต็ด
- อันดับ 17 - บางกอก เอฟซี
- ตกชั้น (ไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง) 2 ทีม
- นครปฐม ยูไนเต็ด
- สมุทรสงคราม เอฟซี
- ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2017 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 โซน
- โซนบนของประเทศ
- โซนล่างของประเทศ
- ทีมที่ได้สิทธิเลื่อนชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 2 ในฤดูกาลหน้า จำนวน 3 ทีม ได้แก่
- สมุทรสาคร เอฟซี
- ขอนแก่น เอฟซี
- อุดรธานี เอฟซี
- ไทยลีก 4 ฤดูกาล 2017 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน
- โซนภาคเหนือ
- โซนภาคตะวันออกเฉียงเหลือ
- โซนภาคตะวันตก
- โซน กทม. และปริมณฑล
- โซนภาคตะวันออก
- โซนภาคใต้
พ.ศ. 2561
การแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ยังคงดำเนินการภายใต้โครงสร้างเดิม กล่าวคือ แบ่งเป็น 4 ระดับการแข่งขัน ไทยลีก 1-4 และเริ่มใช้กติกาเพื่อลดจำนวนทีมการแข่งขันในปีถัดไป ทำให้การแข่งขันระดับไทยลีก 1 จะมีทีมตกชั้นรวมทั้งสิ้น 5 ทีม
- ไทยลีก 1 ฤดูกาล 2018 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 18 ทีมสโมสร ทีมที่ได้แชมป์ จะได้สิทธิไปแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก 2019 รอบแบ่งกลุ่ม และทีมรองแชมป์ จะได้สิทธิไปแข่งขัน เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก 2019 ในรอบคัดเลือก ส่วน 5 ทีม อันดับสุดท้าย ตกชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก 2 ในฤดูกาลหน้า
- แชมป์ - บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- รองแชมป์ - แบงค็อก ยูไนเต็ด
- ตกชั้น 5 ทีม ได้แก่
- อันดับ 14 - บางกอกกล๊าส เอฟซี
- อันดับ 15 - โบลิส เทโร เอฟซี
- อันดับ 16 - ราชนาวี
- อันดับ 17 - อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด
- อันดับ 18 - แอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี
- ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2018 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขัน 15 ทีม เมื่อจบฤดูกาลแข่งขัน ทีมชนะเลิศ, ทีมอันดับ 2 และ ทีมอันดับ 3 ได้สิทธิเลื่อนชั้น ไปแข่งขัน ไทยลีก 1 ส่วน 2 ทีมอันดับสุดท้าย ตกชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก 3 ฤดูกาลหน้า
- แชมป์ - พีทีที ระยอง
- รองแชมป์ - ตราด เอฟซี
- อันดับ 3 - เชียงใหม่ เอฟซี
- ตกชั้น 2 ทีม ได้แก่
- อันดับ 14 - กระบี่ เอฟซี
- อันดับ 15 - อ่างทอง เอฟซี
- ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2018 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 โซนเช่นเดิม ได้แก่
- โซนบนของประเทศ (14 ทีม)
- โซนล่างของประเทศ (14 ทีม)
- ทีมที่ได้สิทธิเลื่อนชั้นไปแข่งขัน ไทยลีก 2 จำนวน 3 ทีม ได้แก่
- เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด (แชมป์ โซนบน)
- เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด (แชมป์ โซนล่าง)
- อยุธยา ยูไนเต็ด (เพลย์ออฟ ชนะ นรา ยูไนเต็ด ด้วยสกอร์ 1-1 และ 1-0)
- ทีมที่ตกชั้นไปแข่งขันในไทยลีก 4 จำนวน 2 ทีม ได้แก่
- กาฬสินธุ์ เอฟซี (โซนบน)
- เดฟโฟ เอฟซี (โซนล่าง)
- ไทยลีก 4 ฤดูกาล 2018 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน ได้แก่
- โซนภาคเหนือ - 10 ทีม
- โซนภาคตะวันตก - 9 ทีม
- โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - 13 ทีม
- โซนภาคตะวันออก - 7 ทีม
- โซนกรุงเทพและปริมณฑล - 12 ทีม
- โซนภาคใต้ - 8 ทีม
(อัพเดท 15 ตุลาคม 2561)
ข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์ wikipedia.org