23 มิถุนายน 2550

จากความรุ่งเรืองยุคคณะราษฎร สู่ความรุ่งเรืองยุคปัจจุบัน

เพิ่งได้อ่านหนังสือ คณะราษฎร ฉลองรัธธรรมนูญ: ประวัติศาสตร์การเมือง หลัง 2475 ผ่านสถาปัตยกรรม "อำนาจ" เนื้อหาอธิบายที่มาที่ไปของสถาปัตยกรรมในยุคของคณะราษฎร* ได้อย่างเห็นภาพ 

สิ่งก่อสร้าง/อาคารสถานที่ หลายแห่งถูกสร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎร 

  • บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด ก่อตั้งปี พ.ศ. 2476 
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ชื่อเดิม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) สถาปนา 27 มิ.ย. 2477 
  • อนุสาวรีย์หลักสี่ (ชื่อเดิม อนุสาวรีย์ปราบกบฎ) ทำพิธีเปิด 14 ต.ค. 2479 
  • สนามศุภชลาศัย (ชื่อเดิม กรีฑาสถานแห่งชาติ) สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2481 
  • วิทยาลัยนาฎศิลป์ กรุงเทพฯ (ชื่อเดิม โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฎดุริยางค์) แล้วเสร็จ 1 มี.ค. 2481 
  • อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทำพิธีเปิด 24 ม.ย. 2483 
  • วัดพระศรีมหาธาตุ (ชื่อเดิม วัดประชาธิปไตย) ทำพิธีเปิด 24 มิ.ย. 2485 
  • ตึกที่ทำการศาลอุทธรณ์ ทำพิธีเปิด 24 มิ.ย. 2486 
  • โรงแรมรัตนโกสินทร์ ทำพิธีเปิด 24 มิ.ย. 2486 
  • โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2491 

นอกจากสิ่งก่อสร้าง/อาคารสถานที่ คณะราษฎรยังเป็นผู้ริเริ่มสร้างถนนสายสำคัญๆ ในประเทศไทยอีกด้วย 

  • ถนนพหลโยธิน - ชื่อตามพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร (ชื่อเดิม ถนนประชาธิปไตย) เริ่มใช้งานระหว่างอนุสารยร์ชัยสมรภูมิ-ดอนเมือง ปี พ.ศ. 2479 ปัจจุบันมีความยาวทั้งสิ้น 1,005 กิโลเมตร สิ้นสุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 
  • ถนนสุขุมวิท - ชื่อตามพระพิศาลสุขุมวิท อธิบดีกรมทางหลวงสมัยนั้น (ชื่อเดิม ถนนกรุงเทพ-สมุทรปราการ) เปิดใช้งานระหว่างกรุงเทพ-เมืองสมุทรปราการ 8 ก.ย. 2479 ปัจจุบัน สิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด 
  • ถนนเพชรเกษม - ชื่อตามหลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงสมัยนั้น สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2493 ปัจจุบันระยะทางจากกรุงเทพ-อ.สะเดา จ.สงขลา รวมทั้งสิ้น 1,274 กิโลเมตร 

จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้นกล่าวได้ว่า ในยุคของคณะราษฎรได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งก่อสร้าง/อาคารสถานที่ข้างต้น ทุกอันยังคงใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้ (ยกเว้น โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ที่ถูกรื้อถอนในปี พ.ศ. 2532 เพื่อทำเป็นสวนสาธารณะ) ส่วนถนนทั้ง 3 เส้น ก็เป็นถนนสำคัญในการคมนาคมและการพัฒนาประเทศอีกด้วย

----------

ยุคของคณะราษฎร = ระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่เหตุการณ์ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 จนถึงเหตุการณ์รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

ข้อมูลเพิ่มเติม