#คนไทยลืมง่าย : 2548-2554 การเมืองไทย ในความทรงจำ

ลองทบทวนดูอีกครั้งว่าในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เท่าที่จำได้ มีเหตุการณ์สำคัญในประเทศไทย มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง

การเมืองไทย พ.ศ. 2548

6 มกราคม รัฐบาล "ทักษิณ ชินวัตร" สิ้นสุดวาระ 4 ปี
6 กุมภาพันธ์ การเลือกตั้งทั่วไป พรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียง 375 จาก 500 เสียง
11 มีนาคม มติสภาผู้แทนราษฎร 377 เสียง เลือก "ทักษิณ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2
9 กันยายน รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ดำเนินรายการโดยสนธิ ลิ้มทองกุล ออกอากาศครั้งสุดท้าย หลังจากนั้น อสมท. ก็ยกเลิกรายการดังกล่าว หลังจากนั้นเปลี่ยนชื่อรายการเป็นเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร โดยจัดที่หอประชุม มธ. และย้ายไปจัดรายการที่สวนลุมพินี ในเวลาต่อมา

การเมืองไทย พ.ศ. 2549

23 มกราคม ตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดในกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่บริษัทเทมาเส็ก
4 กุมภาพันธ์ การชุนนุมครั้งใหญ่ ต่อต่านรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก
11 กุมภาพันธ์ เปิดตัว พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการชุมนุม
24 กุมภาพันธ์ ทักษิณ ชินวัตร ยุบสภา
28 กุมพาพันธ์ พรรคร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ประกาศไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง
5 มีนาคม ประชาชนหลายกลุ่ม ได้รวมตัวกันลงนามถวายฎีกา ขอพระราชทานรัฐบาลชั่วคราว และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยอ้างความตาม มาตรา 7 ของ รธน. 2540
24 มีนาคม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แสดงความต้องการให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าแทรกแซงการเมือง โดยการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อยุติความขัดแย้ง
2 เมษายน การเลือกตั้งทั่วไป โดยในหลายเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียว ผลการเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย ได้คะแนนเสียง 460 จากทั้งหมด 500 เสียง
23 เมษายน การเลือกตั้งใหม่ 40 หน่วยเลือกตั้งใน 17 จังหวัด
25 เมษายน พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลฯ "นายกฯ พระราชทาน ไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย"
8 พฤษภาคม มติศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก 8 เสียง พิพากษาให้การเลือกตั้ง 2 เม.ย. เป็นโมฆะ
25 กรกฎาคม พิพากษาจำคุก กกต. และออกจากตำแหน่ง ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
19 กันยายน รัฐประหาร 2549 นำโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 สั่งยุบสภา และประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ
1 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

การเมืองไทย พ.ศ. 2550

26 มกราคม ยกเลิกกฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด คงเหลือ 35 จังหวัด
30 พฤษภาคม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ ยุบพรรคพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย ตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ส.ส.พรรคไทยรักไทย ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน
19 สิงหาคม ประชามติ รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในบรรยากาศกฎอัยการศึก 35 จังหวัด และประกาศ พ.ร.บ.ว่าด้วยความเรียบร้อยฯ
23 ธันวาคม การเลือกตั้งทั่วไป พรรคพลังประชาชน ได้คะแนนเสียง 233 จาก 480 เสียง

การเมืองไทย พ.ศ. 2551

29 มกราคม มติสภาผู้แทนราษฎร 310 เสียง เลือก สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี
28 กุมภาพันธ์ ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับเข้าประเทศไทย พร้อมกับก้มลงกราบพื้นดิน ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
5 สิงหาคม ทักษิณ ชินวัตร ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ประเทศจีน และเดินทางต่อไปยังประเทศอังกฤษเพื่อขอลี้ภัย
9 กันยายน มติศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้ สมัคร สุนทรเวช ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี
17 กันยายน มติสภาผู้แทนราษฎร 298 เสียง เลือก สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
24 พฤศจิกายน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยืดสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง
2 ธันวาคม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ส.ส.พรรคพลังประชาชน ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
15 ธันวาคม มติสภาผู้แทนราษฎร 235 เสียง เลือก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีรายงานอย่างกว้างขวางว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก บีบบังคับให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคพลังประชาชนย้ายมาอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์

การเมืองไทย พ.ศ. 2552

26 มีนาคม นปช. กลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ เพื่อขับไล่รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
10 เมษายน นปช. ได้เข้าปิดล้อมและบุกเข้าไปในสถานที่จัดประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบ
14 เมษายน รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และยกกำลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุม และแกนนำ 3 คน ได้แก่ วีระ มุสิกพงศ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นายแพทย์เหวง โตจิราการ ถูกควบคุมตัว

การเมืองไทย พ.ศ. 2553

26 กุมภาพันธ์ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท จากทรัพย์ที่อายัดไว้กว่า 7.6 หมื่นล้านบาท ของครอบครัวและผู้ใกล้ชิด พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ
12 มีนาคม นปช. เริ่มชุมนุมเรียกร้องให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่
14 มีนาคม เริ่มการชุมนุมใหญ่ของนปช. ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนิน
10 เมษายน กำลังทหารภายใต้การบังคับบัญชาของ ศอฉ. เข้าสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 24 ศพ
13-18 พฤษภาคม ทหารกระชับพื้นที่บริเวณแยกราชประสงค์ มีผู้เสียชีวิต 43 ศพ
19 พฤษภาคม ทหารสลายการชุมนุม เสียชีวิต 15 ศพ แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุม

การเมืองไทย พ.ศ. 2554

10 พฤษภาคม รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภา
3 กรกฎาคม การเลือกตั้งทั่วไป พรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 265 จาก 500 ที่นั่ง
5 สิงหาคม มติสภาผู้แทนราษฎร 296 เสียง เลือก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

ปิดท้ายด้วยรูปถ่ายอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง ถ่ายไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2550